วันเสาร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

แววมยุรา

แววมยุรา

แววมยุรา เป็นพืชพันธุ์ไม้เลื้อยกึ่งคลุมดินในตระกูลเดียวกับคล้า แต่การปลูกเลี้ยงง่ายกว่ามาก เพราะมีความอดทนและเจริญเติบโตได้ง่ายในทุกสภาวะของห้อง แววมยุรามีใบด้านหน้าสีเขียวสลับลายเขียวแก่หรือน้ำตาล ส่วนหลังใบมีสีเขียวอมแดงหรือม่วงมีลายสลับเช่นเดียวกัน เนื่องด้วยใบมีลวดลายและสีสันสวยงามคล้ายหางนกยูงจึงได้ชื่อไทยว่า แววมยุราส่วนภาษาอังกฤษได้ชื่อว่า “Prayer Plan” แปลว่า ต้นไม้พนมมือ โดยตั้งชื่อตามลักษณะการกระดกของใบตั้งขึ้นเหมือนการพนมมือตอนใกล้ค่ำ พอตอนรุ่งเช้าใบก็จะคลี่ออกตามเดิม


แววมยุราเป็นไม้ประดับภายในอาคารที่ช่วยทำหน้าที่รักษาความชุ่มชื้นภายในห้องได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าคุณสมบัติในการดูดสารพิษจะน้อยไปสักนิดก็ตาม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Torenia fournieri Lindl. ex Fourn.
ชื่อวงศ์ : Scrophulariaceae
ชื่อสามัญ : Wishbone flower, Bluewings, Torenia
ชื่อพื้นเมือง : เกล็ดหอย แววมยุเรศ สามสี หญ้าลิ้นเงือก หญ้าลำโพง
ชนิดพืช [Plant Type] : ไม้ดอกล้มลุก
ขนาด [Size] : สูง 15-50 เซนติเมตร
สีดอก [Flower Color] : สีแดง ชมพู ม่วงเข้ม ม่วงอ่อน โคนกลีบสีขาวกลีบล่างอาจมีแต้มสีเหลือง
ฤดูที่ดอกบาน [Bloom Time] : ตลอดปี
อัตราการเจริญเติบโต [Growth Rate] : ปานกลาง
ลักษณะนิสัย [Habitat] : ดินร่วน ระบายน้ำได้ดี
ความชื้น [Moisture] : ปานกลาง
แสง [Light] : แดดเต็มวัน
ลักษณะทั่วไป (Characteristic) : ไม้ดอกล้มลุก ลำต้นและกิ่งเป็นเหลี่ยม แตกกิ่งก้านมาก
ใบ (Foliage) : ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ใบรูปไข่ถึงรูปรีแคบ กว้าง 1.5-4.5 เซนติเมตร ยาว 5-7 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบจักฟันเลื่อย แผ่นใบบาง สีเขียว เส้นใบเป็นร่อง
ดอก (Flower) : สีแดง ชมพู ม่วงเข้ม ม่วงอ่อน โคนกลีบสีขาวกลีบล่างอาจมีแต้มสีเหลือง ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะตามซอกใบที่ปลายกิ่ง โคนกลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก ขนาดไม่เท่ากัน ดอกบานเต็มที่กว้าง 1.5-2.5 เซนติเมตร
ผล (Fruit) : ผลแห้งแตก รูปรีหรือทรงกระบอก มีเมล็ดจำนวนมาก

การใช้งานด้านภูมิทัศน์ (Landscape Used) : ปลูกคลุมดินในสวน ดอกช่วยสร้างสีสัน เหมาะกับสวนในบ้าน ริมน้ำตก ลำธาร
ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/แววมยุรา
           http://www.panmai.com/Pollution/Pollution_35.shtml

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น