วันเสาร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2558

การประกาศตัวแปร

ตัวแปร (Variable)
      คือ การจองพื้นที่ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์สำหรับเก็บข้อมูลที่ต้องใช้ในการทำงานของโปรแกรม  โดยมีการตั้งชื่อเรียกหน่วยความจำในตำแหน่งนั้นด้วย  เพื่อความสะดวกในการเรียกใช้ข้อมูล  ถ้าจะใช้ข้อมูลใดก็ให้เรียกผ่านชื่อของตัวแปรที่เก็บเอาไว้

ตัวแปรในภาษา ตามมาตรฐาน ASNI

                     
หลักเกณฑ์การตั้งชื่อตัวแปร
      ในภาษา  C  มีหลักเกณฑ์การตั้งชื่อตัวแปรดังนี้
            1) ชื่อตัวแปรจะต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษรเท่านั้น  ตัวถัดมาเป็นได้ทั้งตัวอักษร   ตัวเลข   แต่ต้องไม่มีเครื่องหมายคำนวณ   บวก (+),  ลบ (-)คูณ (*)หาร (/)หารเอาเศษ (%)  และเครื่องหมายเว้นวรรค (blank) คั่นระหว่างชื่อตัวแปร  แต่ถ้าต้องการตั้งชื่อตัวแปรเว้นวรรคให้ใช้เครื่องหมาย  _  (underscore)  คั่นแทนการเว้นวรรค  เช่น  sum_1, sum_2  เป็นต้น
       2) ความยาวของชื่อตัวแปร  ขึ้นอยู่กับคอมไพเลอร์และระบบเครื่องคอมพิวเตอร์  ซึ่งภาษา  C  สามารถตั้งชื่อตัวแปรได้ยาวถึง  32  ตัว  แต่โดยปกติเราไม่นิยมตั้งชื่อตัวแปรยาว ๆ
         3) ชื่อตัวแปรตัวอักษรพิมพ์ใหญ่และตัวอักษรพิมพ์เล็ก  แม้จะเขียนคำเดียวกัน  หรือตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ปนตัวอักษรพิมพ์เล็กที่สลับตำแหน่งกัน  ระบบถือว่าเป็นคนละตัวแปรกัน  เช่น    ตัวแปร  MAX, max, Max, mAx, maX   จะถือว่าตัวแปรทั้ง  5  ตัวนี้เป็นคนละตัวกัน
           4) ห้ามตั้งชื่อตัวแปรซ้ำกับคำสงวน  (reserved  word)  หรือชื่อฟังก์ชัน  หรือชื่อคำสั่งในภาษานั้น ๆ 

คำสงวนในภาษา  C  ตามมาตรฐาน  ANSI  (American  National  Standards  Institute)  มี  33  keywords  ดังนี้

 

            5) ชื่อตัวแปรควรตั้งให้สัมพันธ์กับข้อมูลที่ต้องการเก็บ  เพื่อป้องกันความสับสน  เนื่องจากโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่จะมีตัวแปรจำนวนมาก  ถ้าเราตั้งชื่อตัวแปรโดยไม่มีระบบระเบียบที่ดีพอจะทำให้ผู้อ่านโปรแกรมเกิดความสับสนและในกรณีที่โปรแกรมเกิดข้อผิดพลาดขึ้นจะเสียเวลาในการแก้ไขโปรแกรมมากขึ้น  เช่น


การประกาศตัวแปร  (declaration  of  variables)
ตัวแปรทุกตัวต้องมีการประกาศชื่อตัวแปร  (variable name)  และชนิดของตัวแปร (variable  type)  เอาไว้ก่อน   จึงจะสามารถนำตัวแปรที่ประกาศไว้มาใช้งานได้

รูปแบบการประกาศตัวแปร

ตัวอย่าง แสดงการประกาศตัวแปร
1. char  d, c[30];
จะได้ตัวแปร  d  มีชนิดเป็น  single  character  และตัวแปรสตริง  c   มีขนาด  30  bytes
2. int  a,  b;
จะได้ตัวแปร   a   และ  b  มีชนิดเป็น  int   คือใช้เนื้อที่ในหน่วยความจำ  2  bytes  สามารถเก็บตัวเลขจำนวนเต็มที่มีค่าอยู่ในช่วง -32768  ถึง  32767
3. float  k, m, n,
จะได้ตัวแปร  k, m  และ  n  มีชนิดเป็น  float  คือใช้เนื้อที่ในหน่วยความจำ  4  bytes  สามารถเก็บจำนวนทศนิยม  และตัวเลขที่อยู่ในรูป  E  ยกกำลังได้
4 .double  w, x, y, z
จะได้ตัวแปร  w, x, y  และ  z  มีชนิดเป็น  double  คือใช้เนื้อที่ในหน่วยความจำ  8  bytes   สามารถเก็บจำนวนทศนิยม  หรือตัวเลขที่อยู่ในรูป  E  ยกกำลังที่มีความละเอียดสูงกว่าชนิด float

แสดงชนิดของตัวแปร  จำนวน bytes  และพิสัยของค่าข้อมูลในภาษา  C


กรณีที่ต้องการประกาศตัวแปรและกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับตัวแปรด้วยสามารถทำได้ดังนี้

รูปแบบการประกาศตัวแปรและกำหนดค่าให้กับตัวแปร

ตัวอย่างการประกาศตัวแปรและกำหนดค่าให้กับตัวแปร
การกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับตัวแปร  (initializing  variables)
     แสดงการประกาศตัวแปรและกำหนดค่าให้ตัวแปร
char  d=’D’,e=’E’;
char  c[6]=”Hello”;
int  a=9, b=25;
float  k=5.9;
double  y=3.543006089;

              หลังจากที่เราได้ประกาศตัวแปรไว้ ถ้าเราต้องการกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับตัวแปรใดเราสามารถทำได้ดังนี้
รูปแบบกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับตัวแปร
โดยที่
vname  คือ  ชื่อตัวแปรที่ได้ประกาศแล้ว
value   คือ  ค่าข้อมูลที่จะนำไปเก็บไว้ในตัวแปร  ซึ่งอาจเป็นค่าตัวเลขหรือข้อความก็ได้  ถ้าเป็นข้อความจะต้องเขียนอยู่ในเครื่องหมาย “……”
               แสดงการประกาศค่าตัวแปรและกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับตัวแปร
            int  a, b, c=7;    /*  เป็นการประกาศตัวแปร  a, b, และ c,  เป็น  int  และกำหนด
            ค่าตัวแปร  c  มีค่า  7  */
            a=b=c;             /*  เป็นการกำหนดค่าตัวแปร  และ b  ให้มีค่าเท่ากับตัวแปร  c  (คือมีค่าเท่ากับ  7)  */



ที่มา : http://varried.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น