วันอาทิตย์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2557

โครงสร้างของภาษา C



         โครงสร้างของภาษา C  ทุกโปรแกรมของภาษา C มีโครงสร้างเป็นลักษณะดังรูป

Int main (void)
{
เฮดเดอร์ไฟล์ (Header Files)
เป็นส่วนที่เก็บไลบรารี่มาตรฐานของภาษา C ซึ่งจะถูกดึงเข้ามารวมกับโปรแกรมในขณะที่กำลังทำการคอมไพล์ โดยใช้คำสั่ง
#include<ชื่อเฮดเดอร์ไฟล์> หรือ
#include  “ชื่อเฮดเดอร์ไฟล์
ตัวอย่าง

#include<stdio.h>

         เฮดเดอร์ไฟล์นี้จะมีส่วนขยายเป็น .h เสมอ และเฮดเดอร์ไฟล์เป็นส่วนที่จำเป็นต้องมีอย่างน้อย 1 เฮดเดอร์ไฟล์ ก็คือ เฮดเดอร์ไฟล์ stdio.h ซึ่งจะเป็นที่เก็บไลบรารี่มาตรฐานที่จัดการเกี่ยวกับอินพุตและเอาท์พุต

ส่วนตัวแปรแบบ (Global (Global Variables)
เป็นส่วนที่ใช้ประกาศตัวแปรหรือค่าต่าง ๆ ที่ให้ใช้ได้ทั้งโปรแกรม ซึ่งใช้ได้ทั้งโปรแกรม  ซึ่งในส่วนไม่จำเป็นต้องมีก็ได้
ฟังก์ชัน (Functions)
เป็นส่วนที่เก็บคำสั่งต่าง ๆ ไว้ ซึ่งในภาษา C จะบังคับให้มีฟังก์ชันอย่างน้อย 1 ฟังก์ชั่นนั่นคือ ฟังก์ชั่น Main() และในโปรแกรม 1 โปรแกรมสามารถมีฟังก์ชันได้มากกว่า 1 ฟังก์ชั่น
ส่วนตัวแปรแบบ (Local (Local Variables)
เป็นส่วนที่ใช้สำหรับประกาศตัวแปรที่จะใช้ในเฉพาะฟังก์ชันของตนเอง ฟังก์ชั่นอื่นไม่สามารถเข้าถึงหรือใช้ได้ ซึ่งจะต้องทำการประกาศตัวแปรก่อนการใช้งานเสมอ  และจะต้องประกาศไว้ในส่วนนี้เท่านั้น
ตัวแปรโปรแกรม (Statements)
เป็นส่วนที่อยู่ถัดลงมาจากส่วนตัวแปรภายใน ซึ่งประกอบไปด้วยคำสั่งต่าง ๆ ของภาษา C และคำสั่งต่าง ๆ จะใช้เครื่องหมาย ; เพื่อเป็นการบอกให้รู้ว่าจบคำสั่งหนึ่ง ๆ แล้ว ส่วนใหญ่ คำสั่งต่าง ๆ ของภาษา C เขียนด้วยตัวพิมพ์เล็ก เนื่องจากภาษา C จะแยกความแตกต่างชองตัวพิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่หรือ Case Sensitive นั่นเอง ยกตัวอย่างใช้ Test, test หรือจะถือว่าเป็นตัวแปรคนละตัวกัน นอกจากนี้ภาษา C ยังไม่สนใจกับการขึ้นบรรทัดใหม่ เพราะฉะนั้นผู้ใช้สามารถพิมพ์คำสั่งหลายคำสั่งในบรรทัดเดียวกันได้ โดยไม่เครื่องหมาย ; เป็นตัวจบคำสั่ง
ค่าส่งกลับ (Return Value)
เป็นส่วนที่บอกให้รู้ว่า ฟังก์ชันนี้จะส่งค่าอะไรกลับไปให้กับฟังก์ชั่นที่เรียกฟังก์ชั่น ซึ่งเรื่องนี้ผู้เขียนจะยกไปกล่าวในเรื่องฟังก์ชั่นอย่างละเอียดอีกทีหนึ่ง

          หมายเหตุ (Comment) เป็นส่วนที่ใช้สำหรับแสดงข้อความเพื่ออธิบายสิ่งที่ต้องการในโปรแกรม ซึ่งจะใช้เครื่องหมาย /*และ */ ปิดหัวและปิดท้ายของข้อความที่ต้องการ 
รูปที่ 2-2 แสดงการเขียนหมายเหตุหรือ Comment ในลักษณะต่าง ๆ
โปรแกรมที่ 2 - 1 โปรแกรมแรก

การตั้งชื่อ
การตั้งชื่อ (Identifier) ให้กับตัวแปร ฟังก์ชันหรืออื่น ๆ มีกฎเกณฑ์ในการตั้งชื่อ ดังนี้
1.  ตัวแรกของชื่อจะต้องขึ้นต้องด้วยตัวอักษรหรือเครื่องหมาย _ เท่านั้น
2.  ตัวอักษรตั้งแต่ตัวที่ 2 สามารถเป็นตัวเลข หรือเครื่องหมาย_ก็ได้
3.  จะต้องไม่มีการเว้นวรรคภายในชื่อ แต่สามารถใช้เครื่อง_คั่นได้
4.  สามารถตั้งชื่อได้ยาไม่จำกัด แต่จะใช้ตัวอักษรแค่ 31 ตัวแรกในการอ้างอิง
5.  ชื่อที่ตั้งด้วยตัวอักษรพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก จะถือว่าเป็นคนละตัวกัน

6.  ห้ามตั้งชื่อซ้ำกับคำสงวนของภาษา C
ตัวอย่างการตั้งที่ถูกและผิด

ชนิดข้อมูลแบบไม่มีค่า หรือ Void Type (Void)ชนิดข้อมูล
ในการเขียนโปรแกรมภาษา C นั้น ผู้ใช้จะต้องกำหนดชนิดให้กับตัวแปรนั้นก่อนที่จะนำไปใช้งาน โดยผู้ใช้จะต้องรู้ว่าในภาษา C นั้นมีชนิดข้อมูลอะไรบ้าง เพื่อจะเลือกใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ในภาษา C จะมี 4 ชนิดข้อมูลมาตรฐาน
ชนิดข้อมูลมูลแบบจำนวนเต็ม หรือ Integer Type (int)

เป็นชนิดข้อมูลที่เป็นตัวเลขจำนวนเต็ม ไม่มีทศนิยม ซึ่งภาษา C จะแบ่งข้อมูลชนิดนี้ออกได้เป็น 3 ระดับ คือ short int,int และ long int ซึ่งแต่ละระดับนั้นจะมีขอบเขตการใช้งานที่แตกต่างกัน ดังแสดงในตารางที่ 2-1


ชนิดข้อมูลแบบทศนิยม หรือ Floating Point Type (flat)ชนิดข้อมูลแบบอักษร หรือ Character Type (char)
ข้อมูลชนิดนี้ก็คือ ตัวอักษรตั้งแต่ A-Z เลข 0-9 และสัญลักษณ์ต่าง ๆ ตามมาตรฐาน ACSII (American Standard Code Information Interchange) ซึ่งเมื่อกำหนดให้กับตัวแปรแล้วตัวแปรนั้นจะรับค่าได้เพียง 1 ตัวอักษรเท่านั้น และสามารถรับข้อมูลจำนวนเต็มตั้งแต่ถึง 127 จะใช้ขนาดหน่วยความจำ 1ไบต์หรือ 8 บิต

เป็นข้อมูลชนิดตัวเลขที่มีจุดทศนิยม ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ float, double และ long double แต่ละระดับนั้นจะมีขอบเขตที่แตกต่างกันในการใช้งาน ดังแสดงในตารางที่ 2-2
ตารางที่ 2-2 แสดงรายละเอียดของชนิดข้อมูลแบบทศนิยม











ที่มา : http://itd.htc.ac.th/st_it50/it5016/nidz/Web_C/unit3.html

วันเสาร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

บัวสวรรค์

บัวสวรรค์

บัวสวรรค์ หรือ กัตตาเวีย เป็นพืชดอก มีถิ่นกำเนิดมาจาก ตะวันออกกลาง แอฟริกาตะวันออก โคลัมเบีย คอสตาริกา และปานามา ซึ่งเป็นประเทศในเขตร้อนชื้น ใกล้เส้นศูนย์สูตร ดังนั้นการนำมาปลูกในบ้านเราจึงเป็นเรื่องไม่ยาก และสามารถเจริญเติบโตได้ดี โดยสามารถออกดอกได้เหมือนกับต้นที่ปลูกในถิ่นกำเนิด

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นไม้พุ่มสูง 2 - 5 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลเข้ม ใบเวียนเรียงสลับเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง ใบเป็นมัน ไม่ผลัดใบ กลีบดอกหนา ซ้อนเหลื่อมกัน ดอกคล้ายดอกบัวหลวงแต่ใหญ่และสวยกว่ามาก ดอกมักออกซ่อนอยู่ภายในทรงพุ่ม

การปลูกเลี้ยง
เป็นพันธุ์ไม้หอมที่ดูแลง่าย ทนต่อสภาพแวดล้อม ชอบแสงแดดจัดและน้ำปานกลางถึงมาก ใบไม่ค่อยร่วง ชอบแดดรำไรถึงแดดจัด หมั่นรดน้ำพรวนดินบ้า ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด, การตอนกิ่ง (เปอร์เซ็นต์การออกรากค่อนข้างต่ำ ประมาณ30%) ,การปักชำ การเพาะเมล็ด ตามธรรมชาติเมล็ดของบัวสวรรค์มีขนาดใหญ่และหนัก จึงไม่สามารถกระจายออกไปไกลจากโคนต้นได้มากนัก เมื่อผลเน่าเสียเมล็ดจะถูกฝังลงดินและงอกเป็นต้นอ่อนขึ้นมา ต้นจากการเพาะเมล็ดจะใช้เวลาในการออกดอกถึงห้าปี ช้ากว่าต้นจากการปักชำ หรือตอนกิ่ง ( ต้นที่สวนลูกจันทร์ ใช้เวลาปลูกถึงออกดอกประมาณ 5 ปี)

ประโยชน์

ใช้เป็นไม้ประดับ ใบเขียวตลอดปีช่วยให้บ้านดูร่มรื่นเย็นสบาย เยื่อไม้ใช้ทำด้าย น้ำจากก้านดอกอ่อนหมักแล้วกลั่นรับประทาน บำรุงโลหิต และบำรุงธาตุ ลำต้นที่ตรงของเขาใช้ได้ดีสำหรับการก่อสร้าง ในสมัยโบราณ ชาวอินเดียนแดงใช้ใบต้มทำยาแก้พิษจากการถูกธนูพิษยิง และแก้พิษไข้ แก้หวัด ที่มีประโยชน์ที่สุดคือ ดอกสวย หอมชื่นใจ

ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/บัวสวรรค์

มะลิ

มะลิ


ชื่อสามัญ  Sambac
ชื่อวิทยาศาสตร์  Jasminum sambac. , Jusminum adenophyllum.
ตระกูล OLEACEA

ชนิดของมะลิที่นิยมปลูกเป็นไม้มงคล
1. มะลิซ้อน (Grand Duke of Tuscany)
2. มะลิวัลย์ (Angel-hair jasmine)
3. มะลิฉัตร (Arabian jasmine)
4. มะลิพวง (Angelwing jasmine)
5. พุทธชาติ (Star jasmine)

ลักษณะทั่วไปมะลิ
มะลิเป็นพรรณไม้ยืนต้น และเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก จนถึงขนาดกลางบางชนิดก็มีลำต้นแบบเถาเลื้อย ลำต้นมีความสูงประมาณ1-3 เมตร ผิวเปลือกลำต้นสีขาวมีสะเก็ดรอยแตกเล็กน้อย ลำต้นเล็กกลมแตกกิ่งก้านสาขาไปรอบ ๆ ลำต้น ใบเป็นใบเดียวแตกใบเรียงกันเป็นคู่ ๆ ตามก้านและกิ่งลักษณะของใบมนป้อม โคนใบสอบเรียว ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม ขนาดใบกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อ ออกตามส่วนยอดหรือตามง่ามใบ ดอกเล็กสีขาวมีกลีบดอกประมาณ 6-8 กลีบ เรียงกันเป็นวงกลมหรือซ้อนกันเป็นชั้นแล้วแต่ชนิดพันธุ์ ขนาดดอกบานเต็มที่ประมาณ 2-3 เซนติเมตรผลเป็นรูปกลมรีเล็กเมื่อสุกจะมีสีดำภายในมีเมล็ดอยู่1เมล็ดนอกจากนี้ลักษณะของลำต้นและดอกแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์


การเป็นมงคลมะลิ
คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นมะลิไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดความรักความคิดถึงแก่บุคคลทั่วไปเพราะดอกมะลิเป็นดอกไม้ประจำวันแม่แห่งชาติซึ่งเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความรักของลูกต่อแม่และผู้ที่มีความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณนอกจากนี้คนไทยโบราณยังเชื่ออีกว่า บ้านใดปลูกต้นมะลิไว้ประจำบ้าน จะทำให้คนในบ้านมีความบริสุทธิ์ เพราะดอกมะลิมีสีขาวบริสุทธิ์ ขาวสะอาด ซึ่งคนไทยนิยมใช้เป็นเครื่องสักการะบูชาพระ 

ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูกต้นมะลิ
เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัยควรปลูกต้นมะลิไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือผู้ปลูกควรปลูกในวันพุธเพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกต้นไม้เพื่อเอาประโยชน์ทั่วไปทางดอกให้ปลูกในวันพุธถ้าจะให้เป็นสิริมงคลยิ่งขึ้นนั้นผู้ปลูกควรเป็นสภาพสตรีที่สูง อาจจะ เพราะเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบสูงและยังเป็นผู้ที่ประกอบคุณงามความดี เป็นที่ยอมรับนับถือของบุคคลทั่วไป

การปลูกมะลิ การปลูกมะลิมี 2 วิธี
1. การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายนอกอาคารบ้านเรือน ควรใช้กระถางทรงสูง ขนาด 8-14 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1: 1 :1 ผสมดินปลูกควรเปลี่ยนกระถางปีละครั้งเพราะการขยายตัวของรากแน่นเกินไปและเพื่อเปลี่ยนดินปลูกใหม่ ทดแทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไป
2. การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน โบราณนิยมปลูกบริเวณทางเข้าหน้าบ้าน เพื่อเป็นเสน่ห์แก่บ้าน ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1: 1 ผสมดินปลูก

การดูแลรักษามะลิ
แสง                          ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง
น้ำ                             ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 3-5 วัน/ครั้ง
ดิน                           ชอบดินร่วนซุย มีความชุ่มชื้นปานกลาง ระบายน้ำได้ดี
ปุ๋ย                           ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 5-6 ครั้ง หรือใช้ปุ๋ยเคมี
                                 สูตร 15-15-15อัตรา 200-300 กรัม / ต้น ใส่ปีละ 4-6 ครั้ง         
การขยายพันธ์          การปักชำ การตอนกิ่ง การทาบกิ่ง การแยกกอ วิธีที่นิยมและได้ผลดี คือ การปักชำ
                                 การตอน
โรค                           รากเน่า (Sclerotium root rot)
แมลง                        หนอนเจาะดอก
อาการ                 ใบเหลือง เหี่ยว ต้นแห้งตาย โคนต้นมีเส้นใยสีขาว และดอกเป็นแผล เป็นรู ทำให้ดอกเสีย
                             รูปทรง และร่วง ดอกเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ
การป้องกัน               ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งอาศัยของหนอนตัวแก่

การกำจัด                  ใช้ยาเมโธมิล หรือ เมธามิโดฟอส อัตราและคำแนะนำระบุไว้ตามฉลาก

      ที่มา : http://www.maipradabonline.com/maimongkol/mali.htm

กัลปพฤกษ์

กัลปพฤกษ์


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cassia bakeriana  Craib

วงศ์ LEGUMINOSAE -  CAESALPINIACEAE

ชื่อสามัญ : Wishing Tree, Pink Shower

ชื่ออื่นกานล์ (เขมร-สุรินทร์) ชัยพฤกษ์ (ภาคเหนือ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :   เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เปลือกนอกสีเทา แตกกิ่งต่ำทอดกิ่งก้านยาวขึ้นสู่ข้างบน เวลาออกดอกสวยงามมาก เพราะในระยะนี้ต้นไม้จะทิ้งใบจนหมด มีแต่ช่อดอกออกแน่นเป็นกลุ่มตลอดกิ่งและติดทนอยู่ได้หลายวัน ชอบขึ้นอยู่ตามป่าเบญจพรรณแล้งภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บางครั้งพบขึ้นอยู่บนเทือกเขาหินปูน ใบ เป็นช่อ ยาวถึง 35 ซม. ใบย่อยมี 5-6 คู่ เป็นรูปบรรทัดสั้นๆ ยาว 4.5-8.5 ซม. กว้าง 1.7-3.0 ซม. ปลายแหลมหรือเป็นติ่ง มีขนละเอียดอ่อนนุ่มปกคลุมทั้งสองด้าน ด้านท้องใบจะมีขนหนาแน่นกว่าด้านหน้าใบ ก้านใบย่อยสั้นมากยาวเพียง 2 มม. ดอก เกิดบนช่อแบบไม่แตกกิ่งก้าน ยาว 4.0-7.5 ซม. ออกมาตามกิ่งก้าน ตลอดกิ่งมีใบประดับแทรกชัดเจน ก้านดอกยาวประมาร 6 ซม. ดอกสีชมพูเมื่อเริ่มบาน แล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพูเรื่อๆ จนถึงสีขาว ระยะนี้บริเวณโคนต้นจะเต็มไปด้วยกลีบดอกสีขาวที่ทะยอกันร่วงหล่นจากต้น กลีบรองดอกยาว 9-12 มม. กลีบดอกแยกจากกันเป็นอิสระ แต่ละกลีบมีขนาดเกือบเท่าๆ กัน เป็นรูปไข่ยาว 3.5-4.5 ซม. กว้าง 1.2-2.5 ซม. ปกคลุมด้วยขนละเอียดบางๆ ทั้ง 2 ด้าน ที่ฐานกลีบดอกจะคอดเข้าหากันเป็นส่วนของก้านกลีบดอกสั้นๆ ยาวเพียง 5 มม. เกสรผู้มีขนาดยาวไม่เท่ากัน มีอยู่ 3 อัน คล้ายคลึงกับกัลปพฤกษ์ ได้แก่ C. agnes  (de Witt) Brenan และ กาลปพฤกษ์  C.javanica L. จึงทำให้มีผู้เข้าใจไขว้เขว เรียกชื่อสามัญสับสน ปะปนกันไป  C. agnes มีเขตกระจายพันธุ์ อยู่ในแถบอินโดจีน แตกต่างกับกัลปพฤกษ์ตรงที่ช่อดอกแยกแขนง ดอกใหญ่กว่า และสีเข้มกว่า ส่วน C.javanica นั้น มีเขตกระจายพันธุ์ทางภาคใต้ของไทยลงไปถึงมลายู และอินโดเนเซีย แตกต่างกับกัลปพฤกษ์ตรงที่ฝักแก่ไม่มีขนปกคลุม ใบย่อยมีจำนวนคู่มากกว่า (6-15) คู่ และกลีบรองกลีบดอกมีขนาดสั้นประมาณ 5 มม. เท่านั้น ทั้งสองชนิดนี้เวลาออกดอกไม่ทิ้งใบ และลำต้นเมื่อยังมีอายุน้อยจะมีหนามแข็งๆ ตามลำต้น เกิดจากกิ่งที่ชะงักงัน


ประโยชน์ เนื้อไม้และเปลือกมีสารฝาดใช้ฟอกหนัง ฝัก ใช้เป็นยาระบายอย่างอ่อน ถือเป็นไม้มงคลที่น่าหามาปลูกตามความเชื่อที่ว่า "บ้านเรือนใดปลูกกัลปพฤกษ์ไว้จะมีโชค  มีชัย"

      ที่มา : http://www.oknation.net/blog/kangmatoom/2009/06/26/entry-1

สายหยุด

สายหยุด

ชื่อวิทยาศาสร์       Desmos chinensis Lour.
ตระกูล                  ANNONACEAE
ชื่อสามัญ              Desmos
ลักษณะทั่วไป

ต้น        สายหยุดเป็นไม้เถาเลื้อยกึ่งไม้ยืนต้น มีเถาใหญ่แข็งแรงสามารถเกาะเลื้อยพันต้นไม้ หรือกิ่งอื่น ๆ ไปได้ไกล และมักจะแตกกิ่งก้านสาขามากในบริเวณยอด และจะแผ่กิ่งก้านสาขาออกไปเป็นบริเวณกว้าง กิ่งอ่อนจะมีสีน้ำตาลและมีขนอ่อน ๆ ขึ้นปกคลุมโดยทั่วไป ส่วนกิ่งแก่นั้นจะมีสีดำเป็นมัน ไม่มีขน

ใบ        ใบจะออกสลับกันตามข้อต้น ใบจะเป็นใบเดี่ยว รูปขอบขนานแกมรูปหอก ปลายใบแหลมเป็ฯติ่งสั้น โคนใบมนหรือเว้าเล็กน้อย ใบด้านบนเรียบ ส่วนด้านล่างจะมีขน ขอบใบเรียบ ไม่มีจัก ใบสีเขียวเข้ม


ดอก      สายหยุดจะออกดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกแบบตามขอต้นโคนก้านใบ และที่ตาซึ่งติดกับลำต้นลักษณะของดอกเมื่อยังตูมอยู่จะเป็นสีเขียว และเมื่อบานจึงจะเป็นสีเหลือง ดอกจะห้อยลง ดอกมีขนาดเล็ก มีกลีบดอก5-6 กลีบ แบ่งเป็ฯ 2 ชั้น ๆ ละ 3 กลีบ และมีกลีบเลี้ยง 3 กลีบ กลีบดอกจะบิดงอเช่นเดียวกันกับดอกกระดังงาไทย มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียจำนวนมากอยู่ภายในดอก ดอกจะมีกลิ่นหอมจัดในตอนเช้าตรู่ พอสายกลิ่นก็จะค่อย ๆ ลดความหอมลง และจะหมดกลิ่นหอมลงเมื่อใกล้เวลาเที่ยงวัน
ที่มา : http://www.maipradabonline.com/maileay/sayod.htm

ชงโค

ชงโค

ชื่อวิทยาศาสตร์: Bauhinia purpurea L.
ชื่อสามัญ: Purple Orchid Tree, Hong Kong Orchid Tree, Purple Bauhinia
ชื่ออื่น: เสี้ยวดอกแดง (ภาคเหนือ), เสี้ยวหวาน (แม่ฮ่องสอน)           
วงศ์:  LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:
     ไม้ต้น สูงได้ถึง 10 ม. ผลัดใบช่วงสั้นๆ
     ใบ ใบเรียงสลับ ใบเดี่ยว รูปมนเกือบกลม กว้าง 8-10 ซม. ยาว 10-14 ซม. ปลายใบแยกเป็น 2 พู โคนใบมนหรือเว้า ขอบใบเรียบ สีเขียว
     ดอก ดอกช่อออกตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอก 5 กลีบ สีชมพูถึงม่วงเข้ม รูปรีกว้างตรงส่วนกลาง เมื่อบานวัดเส้นผ่านศูนย์กลางได้ 6-8 ซม. เกสรเพศผู้ 5 อัน เกสรเพศเมีย 1 อันอยู่ตรงกลางดอก รังไข่มีขน ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกดอกเป็นช่วงๆ ตลอดปี

     ผล ผลเป็นฝักแบน กว้าง 1.5-2.5 ซม. ยาว 20-25 ซม. เมื่อแก่แตกเป็นสองซีก เมล็ดกลม มี 10 เมล็ด
ที่มา : http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/plants/webcontent3/interactive_key/key/describ/chongko.htm

แววมยุรา

แววมยุรา

แววมยุรา เป็นพืชพันธุ์ไม้เลื้อยกึ่งคลุมดินในตระกูลเดียวกับคล้า แต่การปลูกเลี้ยงง่ายกว่ามาก เพราะมีความอดทนและเจริญเติบโตได้ง่ายในทุกสภาวะของห้อง แววมยุรามีใบด้านหน้าสีเขียวสลับลายเขียวแก่หรือน้ำตาล ส่วนหลังใบมีสีเขียวอมแดงหรือม่วงมีลายสลับเช่นเดียวกัน เนื่องด้วยใบมีลวดลายและสีสันสวยงามคล้ายหางนกยูงจึงได้ชื่อไทยว่า แววมยุราส่วนภาษาอังกฤษได้ชื่อว่า “Prayer Plan” แปลว่า ต้นไม้พนมมือ โดยตั้งชื่อตามลักษณะการกระดกของใบตั้งขึ้นเหมือนการพนมมือตอนใกล้ค่ำ พอตอนรุ่งเช้าใบก็จะคลี่ออกตามเดิม


แววมยุราเป็นไม้ประดับภายในอาคารที่ช่วยทำหน้าที่รักษาความชุ่มชื้นภายในห้องได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าคุณสมบัติในการดูดสารพิษจะน้อยไปสักนิดก็ตาม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Torenia fournieri Lindl. ex Fourn.
ชื่อวงศ์ : Scrophulariaceae
ชื่อสามัญ : Wishbone flower, Bluewings, Torenia
ชื่อพื้นเมือง : เกล็ดหอย แววมยุเรศ สามสี หญ้าลิ้นเงือก หญ้าลำโพง
ชนิดพืช [Plant Type] : ไม้ดอกล้มลุก
ขนาด [Size] : สูง 15-50 เซนติเมตร
สีดอก [Flower Color] : สีแดง ชมพู ม่วงเข้ม ม่วงอ่อน โคนกลีบสีขาวกลีบล่างอาจมีแต้มสีเหลือง
ฤดูที่ดอกบาน [Bloom Time] : ตลอดปี
อัตราการเจริญเติบโต [Growth Rate] : ปานกลาง
ลักษณะนิสัย [Habitat] : ดินร่วน ระบายน้ำได้ดี
ความชื้น [Moisture] : ปานกลาง
แสง [Light] : แดดเต็มวัน
ลักษณะทั่วไป (Characteristic) : ไม้ดอกล้มลุก ลำต้นและกิ่งเป็นเหลี่ยม แตกกิ่งก้านมาก
ใบ (Foliage) : ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ใบรูปไข่ถึงรูปรีแคบ กว้าง 1.5-4.5 เซนติเมตร ยาว 5-7 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบจักฟันเลื่อย แผ่นใบบาง สีเขียว เส้นใบเป็นร่อง
ดอก (Flower) : สีแดง ชมพู ม่วงเข้ม ม่วงอ่อน โคนกลีบสีขาวกลีบล่างอาจมีแต้มสีเหลือง ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะตามซอกใบที่ปลายกิ่ง โคนกลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก ขนาดไม่เท่ากัน ดอกบานเต็มที่กว้าง 1.5-2.5 เซนติเมตร
ผล (Fruit) : ผลแห้งแตก รูปรีหรือทรงกระบอก มีเมล็ดจำนวนมาก

การใช้งานด้านภูมิทัศน์ (Landscape Used) : ปลูกคลุมดินในสวน ดอกช่วยสร้างสีสัน เหมาะกับสวนในบ้าน ริมน้ำตก ลำธาร
ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/แววมยุรา
           http://www.panmai.com/Pollution/Pollution_35.shtml

หมากเหลือง

หมากเหลือง (Areca Palm หรือ Yellow Palm)


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Chrysalidocarpus lutescens  H. Wendl.
ชื่อวงศ์ : Palmae
ชื่อสามัญ :    Golden cane palm,  Butterfly palm,Yellow cane palm,  Golden fruited palm,   Yellow
palm, Madagascar palm
ชื่อพื้นเมือง : -
 ชนิดพืช [Plant Type] : ปาล์มแตกกอ
 ขนาด [Size] :   สูงได้ถึง 8 เมตร
 สีดอก [Flower Color] สีขาว
 ฤดูที่ดอกบาน [Bloom Time] : -
 อัตราการเจริญเติบโต [Growth Rate] : เร็ว
 ลักษณะนิสัย [Habitat] : ดินร่วน ระบายน้ำดี
  ความชื้น [Moisture] : ปานกลาง
  แสง [Light] : แดดเต็มวัน-ร่มรำไร
ลักษณะทั่วไป (Characteristic) :   ปาล์มแตกกอ ลำต้นขนาด 4-8 เซนติเมตร ลำต้นมีผิวเรียบ สีเหลืองส้มจนถึงเขียว  มีข้อเห็นได้ชัดเจน
ใบ (Foliage) :    ใบประกอบแบบขนนก  เรียงสลับ  ใบย่อยรูปขอบขนาน กว้าง 1-2 เซนติเมตร ยาวประมาณ
60 เซนติเมตร  ปลายใบเรียวแหลม โคนใบรูปลิ่ม แผ่นใบสีเขียวอ่อน กาบใบสีเหลืองจนถึงทางใบ
ดอก (Flower) :    สีขาว   มีกลิ่นหอม   ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงระหว่างกาบใบ   ดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น ช่อดอกยาวประมาณ 1 เมตร
ผล (Fruit) : ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียว ติดผลจำนวนมาก ทรงกลมรี ขนาดประมาณ 1.5 เซนติเมตร ผลแก่สี
เหลืองส้มและเปลี่ยนเป็นสีม่วงแก่เกือบดำ
 การใช้งานด้านภูมิทัศน์ (Landscape Used) : ทรงพุ่มสวย ปลูกในกระถางประดับในอาคาร หรือปลูกเป็นฉากกั้น มุมอาคาร อยู่ริมทะเลได้
หมากเหลือง เป็นไม้ประดับภายในอาคารที่เป็นที่นิยมมากชนิดหนึ่ง เพราะมีความสวยงาม มีความทนต่อสภาพแวดล้อมภายในอาคารและคายความชื้นให้แก่อากาศภายในห้องได้เป็นจำนวนมาก ในขณะที่มีประสิทธิภาพสูงในการดูดสารพิษจากอากาศได้ในปริมาณมากเช่นกัน หมากเหลืองเป็นพืชตระกูลปาล์มที่ปลูกง่าย โตเร็ว เป็นพันธุ์ไม้ขนาดกลาง สูงประมาณ 5–10 เมตร ลำต้นมีลายคล้ายข้อปล้อง โค้งงอและตั้งตรงได้สัดส่วนสวยงาม เจริญพันธุ์ด้วยการแตกหน่อเป็นกอประมาณ 5–12ต้น ใบมีลักษณะเป็นรูปขนนกแผ่นใบมีสีเขียวอมเหลืองออกดอกเป็นช่อสีเหลืองอ่อนเป็นอยู่ใต้กาบใบ
               ภายใต้สภาพแวดล้อมห้อง หมากเหลืองขนาดสูง 1.8 เมตรจะคายน้ำประมาณ 1ลิตร ทุกๆ 24 ชั่วโมง ในบรรดาไม้ประดับดูดสารพิษด้วยกัน หมากเหลือง เป็นพืชที่ดูดสารพิษจากอากาศได้ในประมาณมากที่สุดชนิดหนึ่งที่แนะนำให้ปลูกไว้ใน อาคารสำนักงาน หรือ บ้านเรือน
ที่มา : http://suphattraland.surprisethailand.com/index.php?mo=10&art=346841
                 http://agkc.lib.ku.ac.th/plantwebsite/webpage/Palms/%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87.html