วันอาทิตย์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2558

ฟังก์ชัน if ทางเลือกเดียว

ฟังก์ชัน if ทางเลือกเดียว
เงื่อนไขแบบทางเลือกเดียว (ฟังก์ชัน if ทางเลือกเดียว)จะทำการตรวจสอบเงื่อนไข ถ้าเงื่อนไขเป็นจริงจะทำงานตามประโยคคำสั่งภายในวงเล็บปีกกาแต่ถ้าเป็นเท็จจะข้ามไปทำชุดคำสั่งถัดไปซึ่งประโยคคำสั่งภายในวงเล็บปีกกาอาจจะมีเพียงประโยคคำสั่งเดียว หรือหลายประโยคคำสั่งก็ได้ ถ้ามีเพียงประโยคคำสั่งเดียวจะไม่ใส่เครื่องหมาย ปีกกาเปิดและปิด

รูปแบบ       if (เงื่อนไข)
                       {
                         ประโยคคำสั่ง 1;
                         ประโยคคำสั่ง 2;
                       |
                    ประโยคคำสั่ง n;

                   }



 ที่มา : http://www.lks.ac.th/anchalee/c_function1.htm

ฟังก์ชัน if สองทางเลือก

ฟังก์ชัน if สองทางเลือก
เงื่อนไขแบบสองทางเลือก (ฟังก์ชัน if  สองทางเลือก)จะทำการตรวจสอบเงื่อนไข ถ้าเงื่อนไขเป็นจริงจะทำงานตามประโยคคำสั่งชุดที่ 1ถ้าเป็นเท็จจะทำงานตามประโยคคำสั่งชุดที่ 2 ที่อยู่หลัง Else

รูปแบบ         if (เงื่อนไข)
                        {
                           ประโยคคำสั่งชุดที่ 1;
                        }
                     else
                        {
                            ประโยคคำสั่งชุดที่ 2;

                        }



 ที่มา : http://www.lks.ac.th/anchalee/c_function2.htm

ฟังก์ชัน if หลายทางเลือก

ฟังก์ชัน if หลายทางเลือก
      เงื่อนไขแบบหลายทางเลือก (ฟังก์ชัน if หลายทางเลือก) จะทำการตรวจสอบเงื่อนไขตามประโยคคำสั่งชุดที่ 1 ถ้าเงื่อนไขเป็นจริงจะทำงานตามประโยคคำสั่งชุดที่ 1 ถ้าเป็นเท็จจะทำการตรวจสอบเงื่อนไขต่อไป ตามประโยคคำสั่งชุดที่ 2 ถ้าเงื่อนไขชุดที่ 2เป็นจริงจะทำงานตามประโยคคำสั่งชุดที่ 2 แต่ถ้าเป็นเท็จอีกก็จะตรวจสอบเงื่อนไขชุดที่ 3 ต่อไปจนถึงเงื่อนไขสุดท้ายถ้าตรงกับเงื่อนไขใดก็จะทำงานตามประโยคคำสั่งชองชุดเงื่อนไขนั้น

รูปแบบ            if (เงื่อนไข)
                            {
                               ประโยคคำสั่งชุดที่ 1;
                            }
                         else if
                                    {
                                       ประโยคคำสั่งชุดที่ 2;
                                    }
                                 else
                                    {
                                       ประโยคคำสั่งชุดที่ 3
                                     }



ที่มา : http://www.lks.ac.th/anchalee/c_function3.htm

ฟังก์ชัน switch

ฟังก์ชัน switch
ในส่วนของฟังก์ชัน switch จะทำการตรวจสอบตัวแปรว่ามีค่าเท่ากับ case ใด ถ้าตรงกับ case ใดก็จะทำงานตามประโยคคำสั่งของ case นั้น การเปรียบเทียบของฟังก์ชัน switch ไม่สามารถเปรียบเทียบค่ามากกว่า น้อยกว่าเหมือนฟังก์ชัน if ได้ และที่สำคัญตัวแปรที่นำมาใช้กับฟังก์ชัน switch จะต้องเป็นข้อมูลชนิดเลขจำนวนเต็มหรือตัวอักษรเท่านั้น ดังนั้น a1, a2 และ a3 อาจจะเป็นค่าคงที่ ตัวอักษร หรือตัวแปรก็ได้ โดยทั่วไปฟังก์ชันswitch นิยมใช้ในการตรวจสอบเงื่อนไข จำนวนหลาย ๆ เงื่อนไขเพราะถ้าใช้ฟังก์ชัน if จะทำให้เกิดความยุ่งยากได้

รูปแบบ switch(ตัวแปร)
                  {
                     case a1;
                            ประโยคคำสั่ง 1;
                            break;
                     case a2;
                            ประโยคคำสั่ง 2;
                             break;
                      case a3;
                             ประโยคคำสั่ง 3;
                             break;
                      default;
                             ประโยคคำสั่ง ;

                    }




ที่มา : http://www.lks.ac.th/anchalee/c_function_s.htm

การคำนวณทางคณิตศาสตร์

เครื่องหมายการดำเนินการทางคณิตศาสตร์

ตัวอย่างการเขียนโปรเเกรม

ลำดับความสำคัญของเครื่องหมาย

ตัวอย่างการประมวลผลนิพจน์มีตัวดำเนินการหลายตัว


การประมวลผลนิพจน์มีตัวดำเนินการหลายตัว




ที่มา : พื้นฐานความรู้ภาษาซี



ฟังก์ชัน

ฟังก์ชัน clrscr(); เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการลบจอภาพ

ฟังก์ชัน printf(); เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูลที่อยู่ในตัวแปร ค่าคงที่ และนิพจน์ออกจอภาพ
ตัวอย่างที่ 1
printf(“Lampang”);   ความหมาย แสดงข้อความ Lampang ออกทางจอภาพ
ตัวอย่างที่ 2
printf(“%d”,num);     ความหมาย แสดงค่าตัวแปร num ในรูปเลขจำนวนเต็ม
ตัวอย่างที่ 3 
printf(“5.2f”,area);   ความหมาย แสดงค่าที่เก็บอยู่ในตัวแปร area โดยจองพื้นที่ไว้ 5 ช่อง 
                                                ทศนิยม 2 ตำแหน่ง

ฟังก์ชัน scanf(); เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการรับข้อมูลจากแป้นพิมพ์เข้ามาเก็บไว้ในตัวแปร
ตัวอย่าง
scanf(“%d”,&num);   ความหมาย รับค่าตัวเลขจำนวนเต็มแล้วนำมาเก็บไว้ในตัวแปร num

ฟังก์ชัน getch();  เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการรอรับการกดแป้นพิมพ์หนึ่งครั้ง โดยไม่ต้องกดปุ่ม Enter 
                          และตัวอักษรที่ป้อนเข้ามาจะไม่ปรากฏบนจอภาพ

ฟังก์ชัน getchar(); เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการรับข้อมูลเข้ามาทางแป้นพิมพ์ทีละ 1 ตัวอักษร แล้วกด Enter 1 ครั้ง 
                            ข้อมูลที่ป้อนจะแสดงบนจอภาพ

ฟังก์ชัน gets();  เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการรับข้อมูลที่เป็นข้อความจากแป้นพิมพ์เข้ามาเก็บไว้ในตัวแปรแบบอาเรย์ 
                        การใช้ฟังก์ชัน gets(); จะต้องมีการประกาศตัวแปรแบบอาเรย์ และกำหนดจำนวนตัวอักษรที่ต้องการป้อน 
                        โดยคอมพิวเตอร์จะจองพื้นที่ไว้ตามจำนวนตัวอักษร แต่จะป้อนได้น้อยกว่าที่จองไว้ 1 ตัว เพื่อให้ตัวแปรเก็บ 0 
                        อีก 1 ตัว

ฟังก์ชัน textcolor();  เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการกำหนดสีตัวอักษร โดยจะต้องใช้ร่วมกับฟังก์ชัน cprintf ซึ่งมีสีต่างๆ ให้เลือก 
                               ตัวเลขค่าสีอาจจะพิมพ์เป็นตัวเลขหรือชื่อสีเป็นภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ก็ได้
ตัวอย่างที่ 1 
textcolor(4);
cprintf(“Lampang”);
ความหมาย แสดงข้อความ Lampang เป็นสีแดง
ตัวอย่างที่ 2 
textcolor(MAGENTA);
cprintf(“BANGKOK”);
ความหมาย แสดงข้อความ BANGKOK เป็นสีม่วง


ตัวเลขค่าสี
สีที่ปรากฏ
0 
(BLACK) ดำ
1 
(BLUE) น้ำเงิน
2 
(GREEN) เขียว
3 
(CYAN) ฟ้า
4 
(RED) แดง
5
(MAGENTA) ม่วง
6 
(BROWN) น้ำตาล
7 
(LIGHTGRAY) เทาสว่าง
8 
(DARKGRAY) เทาดำ
9 
(LIGHTBLUE) น้ำเงินสว่าง
10 
(LIGHTGREEN) เขียวสว่าง
11 
(LIGHTCYAN) ฟ้าสว่าง
12 
(LIGHTRED) แดงสว่าง
13 
(LIGHTMAGENTA) ม่วงสว่าง
14 
(YELLOW) เหลือง
15
(WHITE) ขาว

ฟังก์ชัน cprintf(); เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการพิมพ์ข้อความเหมือนฟังก์ชัน printf แต่จะแสดงเป็นสีต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ในฟังก์ชัน textcolor การใช้ฟังก์ชัน cprintf ต้องกำหนดสีของตัวอักษรใน ฟังก์ชัน textcolor ก่อน
ตัวอย่างที่ 1 
textcolor(5);
printf(“Lampang”);
   ความหมาย แสดงข้อความ Lampang ออกทางจอภาพ
ตัวอย่างที่ 2 
textcolor(15);
printf(“%d”,num);
     ความหมาย แสดงค่าตัวแปร num ในรูปเลขจำนวนเต็ม
ตัวอย่างที่ 3 

textcolor(7);
printf(“5.2f”,area);
   ความหมาย แสดงค่าที่เก็บอยู่ในตัวแปร area โดยจองพื้นที่ไว้ 5 ช่อง 
                 ทศนิยม 2 ตำแหน่ง

ฟังก์ชัน textbackground(); เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการกำหนดสีพื้นให้กับตัวอักษร
ตัวอย่าง
textbackground(14)
ความหมาย กำหนดสีพื้นเป็นสีเหลือง



ที่มา : http://www.lks.ac.th/anchalee/c_function.htm