วันเสาร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2558

ประวัติและความหมายของภาษา C

               


ประวัติโดยละเอียด
ภาษา  ถูกสร้างขึ้นครั้งแรก  โดย  Dennis  M.Ritchie  ซึ่งทำงานอยู่ที่  Bell  Telephone  Laboratories, Inc.  (ปัจจุบันนี้คือ  AT&T  Bell  Laboratories)  ประมาณปี  ค.ศ.1970  โดย  Ritchie  พัฒนาภาษา  มาจากภาษา  BCPL  และภาษา  ซึ่งในระยะแรกนี้ภาษา  ถูกนำมาใช้ภายใน  Bell  Laboratories  เท่านั้น  จนกระทั่งปี  ค.ศ.1978  Brian  W.Kerninghan  และ  Dennis  M. Ritchie  ได้กำหนดนิยาม  ลักษณะ  และรายละเอียดของภาษา  ขึ้น  โดยเขียนหนังสือชื่อว่า  “The  C  Programming  Language”  (สำนักพิมพ์  Prentice  Hall) ออกมาเป็นเล่มแรกต่อมาบริษัทคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ได้เริ่มสนใจ  และค้นคว้าพัฒนาภาษา  โดยอ้างอิง    
 ภาษา  ของ  Kernighan  และ  Ritchie  ทำให้มีการพัฒนา  C  compiler  และ  C  interpreter  ขึ้นมาเพื่อให้สามารถใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้หลาย ๆ ชนิด  และสามารถใช้กับโปรแกรมต่าง ๆ ที่บริษัทผลิตขึ้นเป็นการค้า  จนกระทั่งปี  ค.ศ.1985  ภาษา  ก็ได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วโลก  ซึ่งในช่วงนั้นภาษา  ที่ใช้กันอยู่มีมากมายหลายชนิด  แล้วแต่บริษัทต่าง ๆ จะสร้างขึ้นซึ่งยังขาดมาตรฐานร่วมกัน  ดังนั้นในปี  ค.ศ.1988  Kernighan  และ  Ritchie  จึงได้ร่วมกับสถาบัน  ANSI (American  National  Standards  Institute)  ได้กำหนดนิยาม  ลักษณะและกฎเกณฑ์ของภาษา  ที่เป็นมาตรฐานขึ้นเรียกว่า  “ANSI  C”  ซึ่งปัจจุบันนี้บริษัทที่ผลิตภาษา  ไม่ว่าจะเป็นบริษัท  Microsoft  และบริษัท  Borland  ต่างก็ใช้มาตรฐานของ ANSI  C  เพื่อผลิตภาษา  รุ่นต่าง ๆ ต่อไป

ประวัติโดยรวม
ภาษา C เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่ถูกค้นคิดขึ้นโดย Denis Ritchie ในปี ค.ศ. 1970 โดยใช้ระบบปฏิบัติการของยูนิกซ์ (UNIX) นับจากนั้นมาก็ได้รับความนิยมเพิ่มขั้นจนถึงปัจจุบัน ภาษา C สามารถติดต่อในระดับฮาร์ดแวร์ได้ดีกว่าภาษาระดับสูงอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาษาเบสิกฟอร์แทน ขณะเดียวกันก็มีคุณสมบัติของภาษาระดับสูงอยู่ด้วย ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงจัดได้ว่าภาษา C เป็นภาษาระดับกลาง (Middle –lever language) 


ภาษา C เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ชนิดคอมไพล์ (compiled Language) ซึ่งมีคอมไพลเลอร์ (Compiler) ทำหน้าที่ในการคอมไพล์ (Compile) หรือแปลงคำสั่งทั้งหมดในโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่อง (Machine Language) เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์นำคำสั่งเหล่านั้นไปทำงานต่อไป


ที่มา : http://varried.blogspot.com/




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น