วันเสาร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2558

หลักการเขียนโปรแกรม




· การวิเคราะห์ปัญหา (Problem analysis)
· การออกแบบโปรแกรม (Design)
· การเขียนโปรแกรมโดยใช้ภาษาใดภาษาหนึ่ง (Coding)
· การตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรม (Testing and Debugging )
· การทดสอบความถูกต้องของโปรแกรม (Testing and validating)

การวิเคราะห์ปัญหา (Problem analysis)
¨ สิ่งที่ต้องพิจารณา
¤ Input ?  (พิจารณาจาก Output)
¤ Output? (พิจารณาอันดับแรก)
¤ Process  (ยังไม่ต้องสนใจตอนนี้)



การออกแบบโปรแกรม (Design)
¨ เครื่องมือที่ใช้ในการออกแบบ
¤ ผังงาน (Flowchart) ขั้นตอนการแก้ปัญหาทีละขั้นตอนในลักษณะรูปภาพ
¤ รหัสจำลอง (Pseudo) รูปแบบเป็นภาษาพูดง่าย ๆ ภาษาอังกฤษ หรือภาษาไทยก็ได้
¨ ข้อดีของรหัสเทียม (จำลอง)
¤ แปลงเป็นโปรแกรมได้ง่าย
¨ ข้อดีของผังงาน
¤ อ่านง่าย เข้าใจตรงกันได้
¨ สัญลักษณ์ในผังงาน
¨ โครงสร้างควบคุม
¤ โครงสร้างลำดับ (Sequence structure)
¤ โครงสร้างแบบมีทางเลือก (Selection structure)
¤ โครงสร้างทำซ้ำ (Repetition structure)




การเขียนโปรแกรมโดยใช้ภาษาใดภาษาหนึ่ง (Coding)
¨ การเขียนโปรแกรมที่ดีนั้น ควรจะทำตามขั้นตอน คือเริ่มตั้งแต่ วิเคราะห์ปัญหา ก่อนแล้วทำการออกแบบโปรแกรม จึงเริ่มเขียนโปรแกรม สำหรับผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ควรทดลองเขียนในกระดาษก่อน แล้วตรวจสอบจนแน่ใจว่าสามารถทำงานได้แล้วจึงทำการคีย์ลงเครื่อง

การตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรม (Testing and Debugging )
¨ รูปแบบข้อผิดพลาด มี 3 แบบคือ
¤ Syntax Error – ข้อผิดพลาดจากการใช้ไวยากรณ์ภาษาที่ผิด หรือ อาจเกิดจากการสะกดคำผิด
¤ Run-time Error – ข้อผิดพลาดในระหว่างการปฏิบัติงาน(Execution) มักเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
¤ Logical Error – ข้อผิดพลาดที่หาและแก้ได้ยากที่สุด ต้องทำการไล่โปรแกรมทีละคำสั่งเพื่อหาข้อผิดพลาดนั้น
¨ วิธีการตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรม มีดังนี้
¤ การตรวจสอบด้วยตนเอง (Self Checking) เขียนโปรแกรมลงกระดาษแล้วไล่เช็คตรวจสอบการทำงานทีละขั้นด้วยตนเอง ว่าจะมีการทำงานที่ถูกต้องตามความต้องการหรือไม่
¤ ตรวจสอบด้วยการแปลโปรแกรม (Translating) การแปลเป็นภาษาเครื่อง ตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรม

การทดสอบความถูกต้องของโปรแกรม (Testing and validating)
¨ วิธีทดสอบความถูกต้องของข้อมูล มีดังนี้
¤ กรณีที่ข้อมูลถูกต้อง (valid case) ทดสอบโดยใส่ข้อมูลที่ถูกต้องลงไปในโปรแกรม เพื่อทดสอบผลลัพธ์ว่าตรงกับที่ต้องการหรือไม่
¤ การใช้ขอบเขตและความถูกต้องของข้อมูล (Range check and Completeness check) เป็นการเช็คขอบเขตข้อมูล
¤ การใช้ความสมเหตุสมผล (Consistency Check)ข้อมูลที่เป็นตัวเลขและตัวอักษร (Correct No. and Type character check) ตรวจสอบว่าถ้าเป็นฟิลด์ที่เป็นตัวเลขอย่างเดียว เช่น จำนวนเงิน ก็ควรจะป้อนข้อมูลได้เฉพาะตัวเลขเท่านั้น
¤ ข้อมูลเป็นไปตามข้อกำหนด (Existence Check) ข้อมูลที่ป้อนต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้แน่นอนแล้วเท่านั้น








ที่มา : www.pnu.ac.th/webpnu/file_egn/cchap1.ppt

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น